คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

แนะเอสเอ็มอีสร้างมูลค่าใหม่สินค้าด้วย Corporate of Design : โลจิสติกส์ย้อนกลับ

การจัดการ โลจิสติกส์ (Logistics Management) ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญภายใต้การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ซึ่งปัจจุบันภาคธุรกิจได้ให้ความสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการ โลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ จากกระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและการรับผิดชอบต่อสังคมของ ภาคธุรกิจ (Corporate Social Responsibility: CSR) ทำให้แนวคิดการจัดการ โลจิสติกส์พัฒนาไปสู่โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) เพื่อลดผลกระทบและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจากแนวคิดดังกล่าวจึงเริ่มมีการให้ความสำคัญกับกระบวนการโลจิสติกส์ย้อน กลับ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ไม่เพียงจะช่วยรักษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจที่นำกระบวนการดังกล่าวไป ประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย

ความหมายและความสำคัญของโลจิสติกส์ย้อนกลับ

โลจิสติกส์ย้อนหลับ (Reverse Logistics) หมายถึง กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลข่าวสาร จากปลายทางซึ่งก็คือผู้บริโภค ย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขณะเดียวกันหากยึดตามนิยามของ Reverse Logistics Executive Council ได้ให้ความหมายว่าเป็นกระบวนการของการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการควบคุมการไหลของวัตถุดิบ สินค้าคงคลัง สินค้าสำเร็จรูป และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากจุดที่ทำการบริโภค (Point of Consumption) ไปยังจุดเริ่มต้น (Point of Origin) เพื่อทำการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพหรือนำไปสร้างมูลค่าแทนที่จะต้องทิ้งหรือ สูญเปล่าไป

กิจกรรมโลจิสติกส์มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ชำรุด มีตำหนิ ตกรุ่น หรือวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตมาสร้างมูลค่าใหม่ (Recapturing Value) โดยอาจมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) การจัดจำหน่ายใหม่ (Resell) การซ่อมแซม (Repair) การผลิตซ้ำ (Remanufacture) และการนำไปแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

ที่ผ่านมาในกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์ มักจะให้ความสำคัญกับการจัดการกระบวนการเคลื่อนย้ายของสินค้าและข้อมูลข่าว สารจากต้นทางคือวัตถุดิบไปจนถึงปลายทางคือผู้บริโภคหรืออาจเรียกว่า Forward Logistics ในขณะที่การจัดการการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลข่าวสารจากปลายทางไปยังต้น ทางหรืออาจเรียกว่า Reverse Logistics กลับได้รับความสนใจไม่มากนัก จากข้อมูลของ Reverse Logistics Executive Council พบว่าในปี 2547 สหรัฐอเมริกามีต้นทุนการส่งสินค้ากลับคืนสูงถึง 58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.5 ต่อจีดีพี สำหรับกรณีของประเทศไทยผู้ประกอบการอาจยังไม่ได้รับรู้ถึงต้นทุนที่เกิดขึ้น จากของเสียหรือขยะ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าต้องรับผิดชอบในการนำ สินค้าที่หมดอายุการใช้งานแล้วไปกำจัด ขณะที่ในส่วนของต้นทุนในการรับคืนสินค้าที่มีตำหนิหรือชำรุดแม้จะไม่มีการ บันทึกข้อมูลอย่างชัดเจน แต่จากต้นทุน โลจิสติกส์โดยรวมของไทยในปี 2550 ที่อยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 18.9 ต่อจีดีพี จึงคาดว่าต้นทุนในการจัดการรับคืนสินค้าของภาคธุรกิจไทยก็น่าจะอยู่ในระดับ สูงเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดการการรับ คืนสินค้าอย่างจริงจัง ส่งผลให้ต้นทุนในกระบวนการรับคืนสินค้าอยู่ในระดับสูง ซึ่งหากมีกระบวนการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพก็อาจช่วยลดต้น ทุนโลจิสติกส์ลงได้กว่าร้อยละ 5-10ตลอดจนยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์และองค์กรอีกด้วย อาทิ ในธุรกิจค้าปลีกการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันได้ เนื่องจากผู้บริโภคจะได้รับความสะดวกสบายในการส่งคืนสินค้าที่มีตำหนิหรือ ชำรุด หรือในธุรกิจซื้อขายออนไลน์พบว่าความสะดวกในการส่งคืนสินค้าในกรณีที่ไม่พอ ใจหรือต้องการเปลี่ยนขนาดสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญในลำดับต้นที่ผู้บริโภคจะ ตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต**


ประโยชน์ของโลจิสติกส์ย้อนกลับสำหรับเอสเอ็มอี

กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับนับว่าเป็นกระบวนการจัดการ โลจิสติกส์ในรูปแบบหนึ่งที่มีประโยชน์หลายประการต่อผู้ประกอบการธุรกิจเอส เอ็มอี

    1) ลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวม กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับเป็นการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีตำหนิหรือ ค้างสต็อก รวมทั้งวัตถุดิบที่เหลือจากการใช้งาน นำมาใช้ประโยชน์หรือสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดหาวัตถุดิบ ต้นทุนในการเก็บรักษา ต้นทุนในการขนส่ง และต้นทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    2) เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ได้มากขึ้น โดยวัสดุที่เหลือจากการผลิตก็อาจนำกลับมาใช้ใหม่ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดหรือมีตำหนิก็อาจนำมาลดราคาเพื่อขายต่อไปได้ (ในกรณีที่ไม่ได้มีอันตรายต่อผู้บริโภค) สินค้าที่ตกรุ่นก็สามารถนำมาขายลดราคาได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นแทนที่จะต้องสูญเปล่าไป โดยตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือกรณีเครื่องซักผ้าที่ส่วนใหญ่จะใช้งานไม่ เกิน 15 ปี ในขณะที่ชิ้นส่วนบางประการมีอายุการใช้งานมากกว่านั้น โดยเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่มีอายุการใช้งานถึง 25 ปี หากผู้ผลิตมีกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพก็อาจรับซื้อ เครื่องซักผ้ารุ่นเก่าเพื่อถอดชิ้นส่วนต่างๆ ที่ยังสามารถใช้งานได้มาประกอบเป็นเครื่องใหม่ โดยอาจตั้งราคาขายเครื่องใหม่ในราคาประหยัด ก็เป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่อาจกลายเป็นขยะได้

    3) สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการช่วยตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เนื่องจากลูกค้าจะมีช่องทางในการส่งคืนสินค้ากลับได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

    4) ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การนำสินค้ากลับมาใช้ใหม่หรือการนำวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตมารีไซเคิล เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตอีกครั้งก็จะช่วยลดของเสียหรือขยะที่จะเกิดขึ้น ได้ หรือการที่ผู้ผลิตสินค้ามีช่องทางการส่งคืนสินค้าที่หมดอายุการใช้งานกลับ คืนสู่บริษัทก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทิ้งขยะอย่างไม่ถูกวิธี ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมได้ จะเห็นได้ว่าแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดกรีนโลจิสติกส์ที่มีเป้าหมาย สำคัญในการลดผลกระทบและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

    5) ลดอุปสรรคการกีดกันทางการค้า ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศได้ใช้เงื่อนไขเกี่ยวกับการทำโลจิสติกส์ ย้อนกลับหรือกรีนโลจิสติกส์มาเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการนำเข้า สินค้าจากต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องทำ โลจิสติกส์ย้อนกลับสำหรับผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว เป็นต้น

    6) สร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร โลจิสติกส์ย้อนกลับถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดกรีนโลจิสติกส์ที่จะช่วยดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร ตลอดจนเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย

แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยโลจิสติกส์ย้อนกลับ

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถนำแนวคิดโลจิสติกส์ย้อนกลับมาปรับ ใช้กับกิจการของตน ซึ่งอาจช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้นด้วย ทั้งในส่วนของการลดต้นทุนและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า โดยอาจมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

    1) วางแผนกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรต้องวางแผนการจัดการโลจิสติกส์ โดยต้องสอดแทรกกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ โลจิสติกส์เข้าไปในทุกขั้นตอนของโลจิสติกส์ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดซื้อวัตถุ ดิบไปจนถึงการส่งคืนสินค้าจากผู้บริโภค
    2) วิเคราะห์ของเสียที่เกิดจากขั้นตอนต่างๆ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรต้องวิเคราะห์ขั้นตอนในกระบวนการโลจิสติกส์ที่จะ เกิดของเสียหรือวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิต เพื่อจะเตรียมแนวทางป้องกันไม่ให้ของเสียหรือวัตถุดิบที่เหลือต้องสูญเปล่า
    3) จัดตั้งศูนย์รับคืนสินค้าหรือวัตถุดิบ เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีง่ายต่อการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ ก็อาจจัดตั้งศูนย์กลางในการรับคืนสินค้าที่ชำรุดหรือวัตถุดิบที่เหลือจากการ ผลิตจากขั้นตอนโลจิสติกส์ต่างๆ เพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าในขั้นต่อไป
    4) นำของเสียหรือสินค้ามีตำหนิมาเพิ่มมูลค่า โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมในการเลือกใช้กิจกรรม ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Reuse, Repair, Remanufacture, Resell, Recycle ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากกระบวนการ โลจิสติกส์ย้อนกลับแล้วควรจะต้องมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าการทิ้งไป

    5) ปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนต่างๆ ให้สมบูรณ์ โดย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องคอยติดตามและปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ย้อน กลับให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอและสอดคล้องกับสถานการณ์และภาวะแวดล้อมทั้งภาย ในและภายนอกองค์กร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มมูลค่าสินค้าได้มากขึ้นด้วย


ตัวอย่างกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับในธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้า



แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยโลจิสติกส์ย้อนกลับ

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาจใช้โอกาสจากกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับเพื่อพัฒนาธุรกิจของตน โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • ใช้กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับในการช่วยลดต้นทุน ซึ่งหากมีกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพก็จะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นด้วย ท่ามกลางภาวะที่แนวโน้มการแข่งขันของภาคธุรกิจรุนแรงมากขึ้นและกำลังซื้อของ ผู้บริโภคยังชะลอตัว

  • ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาจสร้างธุรกิจใหม่ด้วยโลจิสติกส์ ย้อนกลับได้ โดยการเปิดให้บริการเอาท์ซอร์สในการทำโลจิสติกส์ย้อนกลับ เช่น เปิดศูนย์การรับคืนสินค้าที่มีตำหนิหรือชำรุดจากมือผู้บริโภคเพื่อส่งกลับไป ยังผู้ผลิต หรือรับซื้อวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตหรือสินค้าที่หมดอายุมารีไซเคิลเพื่อ นำไปใช้งานต่อในด้านอื่นๆ เป็นต้น

  • ใช้โลจิสติกส์ย้อนกลับในการสร้างจุดขายและความแตกต่างจาก ผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยอาจใช้กลยุทธ์รับประกันความพึงพอใจ หากลูกค้าไม่พอใจในสินค้าหรือสินค้ามีตำหนิก็มีช่องทางในการคืนสินค้าได้

  • สร้างโอกาสในการเจาะตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และแคนาดา ล้วนให้ความสำคัญกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อขยายตลาดและเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันให้สูงกว่าสินค้าจากประเทศอื่นๆ
  • 1 ความคิดเห็น:

    1. ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล ที่จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ ค่ะ

      ตอบลบ